หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
พิษณุโลกเร่งขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
|
จังหวัดพิษณุโลก
ขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบกู้วิกฤตเศรษฐกิจ“1 อำเภอ 1
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” โดยที่อำเภอชาติตระการ เปิดที่บ้านชุมแสง ต.หัวดง 7
สิงหาคม นี้ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า
ขณะนี้จังหวัดพิษณุโลก
เร่งเปิดโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงหมู่บ้านต้นแบบกู้วิกฤตเศรษฐกิจระดับอำเภอ
“ 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” โดยในวันที่ 7 สิงหาคม 2552
จะมีการเปิดโครงการที่บ้านชุมแสง หมู่ที่ 11 ต.หัวดง อ.ชาติตระการ ซึ่ง
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิษณุโลก
ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในการแก้ไขปัญหาความยากจน
และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ
จะเป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกัน
ในระยะแรกจะมีหมู่บ้านต้นแบบอำเภอละ 1 หมู่บ้าน
และจะมีขยายผลสู่การปฏิบัติทั้งในระดับหมู่บ้าน/ชุมชนและครอบครัว
|
บ้านหนำควาย ต้นแบบการอยู่อย่างพอเพียง
ศูนย์การเรียนรู้ ?เศรษฐกิจพอเพียง? บ้านหนำควาย หมู่ที่ 12 ต.นาท่ามเหนือ อ.เมือง
จ.ตรัง เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง และ
เครือข่ายพัฒนาท้องถิ่นตรัง
โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรแบบธรรมชาติและเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ไม่ง่ายนักในสังคมเมืองปัจจุบัน
อาจารย์วิรัช
กาญจนพรหม อาจารย์วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง กล่าวว่า
โครงการดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อปี 2547 เกิดจากการที่วิทยาลัยฯ
ได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งพาตนเอง
แต่การใช้วิธีเผยแพร่แบบทฤษฎีเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ
จำเป็นต้องใช้วิธีปฎิบัติและการสาธิตให้ชาวบ้านดูเป็นแบบอย่างด้วย
อาจารย์วิรัชจึงใช้บริเวณบ้านของตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
โดยเริ่มต้นด้วยเงินลงทุนไม่ถึงสามพันบาทเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อพันธ์พืช
พันธ์ปลา อาหาร พลาสติก และ ตาข่าย
ปัจจุบันที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ มีทั้งการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงกบ
ปลูกพืชผักสวนครัว และผักพื้นบ้านต่างๆ ที่สามารถรับประทานได้ทุกวัน เช่น บวบหวาน
ฟัก ผักหวาน ผักกูด ถั่วพู ตำลึง วอเตอร์เครส (เป็นผักที่มีถิ่นกำเนิดทางยุโรป
แต่สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นของเมืองไทย) ฯลฯ
ซึ่งการปลูกจะเป็นการเกษตรอินทรีย์
เป็นกระบวนการผลิตอาหารที่ปราศจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์อย่างสิ้นเชิง
จึงไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น